เวลาเลือกซื้อชาอูหลง เจ้าของร้านมักชอบถามว่าจะรับชาเบอร์อะไรดี “เลขเบอร์” ที่กำกับบนชาอูหลง บางคนอาจเข้าใจผิดว่า เป็นเกรดของใบชา หรือเป็นชั้นคุณภาพ แท้จริงแล้วเลขเบอร์มีความว่าอะไรกันแน่?

ขอเล่าย้อนกลับไปสมัยกรุงศรีอยุธยา จากจดหมายลา ลูแบร์กล่าวว่า คนไทยรูจักการดื่มชากันมานานตั้งแต่สมัยสุโขทัยที่มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับจีน นอกจากนี้ใบชาในประเทศไทยนั้นมีร่องรอยการปลูกมานานในแถบภาคเหนือ ลักษณะที่บ่งชี้ชัดเจนคือต้นชาอายุเก่าแก่หลายร้อยปีในแถบเชียงใหม่ เชียงราย แรกเริ่มไต้หวันมีการทดลองพัฒนาพืชชามานาน เกิดการผสมพันธุ์ คัดเลือกพันธุ์ชาที่เหมาะสมต่อสภาพแวดล้อมประเทศไทย ให้ผลผลิตดี ทนทานต่อโรคและแมลงต่าง ๆ ซึ่งทำการทดลองจนได้ผลเป็นที่แน่ใจแล้วว่าได้ผลผลิตดีจึงกำหนดเรียกเป็น “เบอร์” ขึ้นในชั้นแรก จากนั้นจึงตั้งชื่อสายพันธุ์ แล้วส่งต้นกล้าพันธุ์ให้เกษตรกรไทยนำไปปลูกต่อ
เพราะฉะนั้นแล้วเบอร์ตัวเลขใช้แทนชื่อพันธุ์ของใบชานั้นเอง! เเต่เกษตรกรนิยมเรียกเป็นเลขเบอร์มากกว่าเพราะความสะดวก เข้าใจง่าย ต่อเนื่องมาถึงผู้ขายและผู้บริโภคเรียกตามกัน

ชาอูหลงที่ปลูกและผลิตขายในประเทศไทยที่นิยมที่สุดจะมี 3 สายพันธุ์/เบอร์ คือ 12, 17 และ 21
🍵ชาอูหลงเบอร์ 12 คือ ชาจินเซียนอู่หลง
🍵ชาอูหลงเบอร์ 17 คือ ชาอู่หลงก้านอ่อน
🍵ชาอูหลงเบอร์ 21 คือ ชาอู่หลงสี่ฤดู เป็นชาสายพันธุ์ที่ปลูกยากและให้ผลผลิตเพียงปีละครั้ง
แต่ถ้าหากซื้อใบชาตามเบอร์ของประเทศไทยที่ไต้หวัน อาจจะไม่ได้ชาตามที่ต้องการเพราะ เบอร์ชาของไต้หวันไม่ตรงกับเบอร์ชาของประเทศไทย ควรสอบถามเจ้าของร้านหรือพนักงานก่อนการซื้อเพื่อให้ได้ใบชาตามที่เราต้องการ

เรื่อง
นิธิกานต์ บุรณจันทร์
สาวน้อยผู้พกความสดใสและหัวใจที่เต็มไปด้วยแมงกะพรุนย่าง สถานะโสดมาก มีน้องหมา1ตัว งื้อ

ภาพ
อภิชญา สิริมังคละเดช
ดีไซน์เนอร์ผู้ชื่นชอบแกงกะหรี่ญี่ปุ่นของแท้เป็นชีวิตจิตใจ เก็บซ่อนความดุร้ายและปลดปล่อยตลอดเวลาที่อยู่กับเพื่อน